Security and Privacy for Online Learning in a New Normal Age เตรียมความพร้อม PDPA สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย

โครงการสัมมนา Online เตรียมความพร้อม PDPA สำหรับสถาบันอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมา เป็นความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), WINS โครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้บริหารระดับสูง ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และ บริษัท วัน-ทู-ออล จำกัด โดยมี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในโครงการสัมมนาครั้งนี้

ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 (PDPA) จะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 จึงจำเป็นต้องมีการอบรมให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อตระหนักถึงวิธีการ กระบวนการดำเนินการของการจัดเก็บ และการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิของเจ้าของข้อมูล เพื่อที่จะได้สามารถจัดเตรียมเอกสารทางกฏหมายที่จำเป็น สำหรับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ตลอดจนการประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวสำหรับนักศึกษา และแนวทางในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ในงานสัมมนา จัดให้มีการบรรยายหลากหลายหัวข้อ ที่น่าสนใจจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ อาทิ
1. ความจำเป็นในการทำ Digital Transformation for Higher Education การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของมหาวิทยาลัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ ประธานคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ของสถาบันอุดมศึกษาไทย
2. Higher Education Digital Learning
โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
3. ทิศทาง PDPA ของประเทศไทย
โดย นายภุชพงศ์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ทำหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล
4. Security and Privacy for Online Learning in a New Normal Age
โดย คุณวสวัส นนท์โสภา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วัน-ทู-ออล จำกัด
5. PDPA Principles, Planning Ahead & Practice for Thai Universities
โดย คุณกฤติยาณี บูรณตรีเวทย์ ทนายความหุ้นส่วน (Partner) บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด
6. ประสบการณ์เตรียมความพร้อมด้าน PDPA มหาวิทยาลัยมหิดล
โดย ผช.ศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตการญจนบุรี

ในส่วนของความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวสำหรับการเรียนออนไลน์ในยุคปัจจุบัน หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 การเรียนการสอนจะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกต่อไป Online Learning and Teaching สามารถสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ในอนาคตสถาบันการศึกษาจะให้ความสนใจการสอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และต้องการปรับปรุงการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งหลายสถาบันสามารถพัฒนาและสร้างระบบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ครูในระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จำเป็นต้องมีการฝึกฝนทักษะสำหรับการสอนออนไลน์ เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนให้น่าสนใจ และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด

Zoom เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการยอมรับและเพราะความง่ายในการใช้งาน ทำให้ถูกเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มเพื่อสร้างการเรียนการสอนมากที่สุด ที่นอกจากจะมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังมีเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนได้ แต่อย่างไรก็ดีในการใช้งานด้านการศึกษา ยังต้องการส่วนเติมเต็มอีกหลายส่วนที่จำเป็น รวมทั้งความปลอดภัยในการใช้งาน และการรักษาความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้เรียน ที่สามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาตอบโจทย์การเรียนการสอนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Class ซึ่งเป็น Software ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Zoom เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานด้านการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น สร้างประสบการณ์ในการเรียนการสอนออนไลน์ที่ดี พร้อมเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการศึกษาที่ครบสมบูรณ์แบบ เพิ่ม Feature ด้านการเรียนการสอนเข้าไปใน ZOOMUpgrade ห้องประชุม ZOOM ให้เป็นห้องเรียน ยกระดับการเรียนการสอนด้วย ZOOM class room มีทั้งระบบเช็คชื่อ (Attedance), ทำแบบฝึกหัด (assignment & Quizz), ทำข้อสอบ (Protoring), ระบบเก็บคะแนน (grade book) หรือใช้ในการพูดคุยกับนักเรียนแบบ 1 ต่อ 1 ขณะที่ใช้ Zoom เป็นต้น ยังมีฟีเจอร์และฟังก์ชั่นที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนอีกมากมาย ที่จะช่วยให้นักการศึกษาสร้างการศึกษาที่เทียบเท่าหรือดีกว่า การเรียนให้ห้องเรียนแบบเดิม ด้วยการเรียนการสอนออนไลน์ หรือ Hybrid Learning

ชมคลิปโครงการสัมมนาออนไลน์ : เตรียมความพร้อม PDPA สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย คลิปเต็มได้ ที่นี่

Goople